วิธีการแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าวเมื่ออยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน
-
คนต่างด้าวดำเนินการแจ้งด้วยตนเอง หรือ
-
คนต่างด้าวมอบหมายให้ผู้อื่นนำหนังสือไปแจ้ง หรือ
-
คนต่างด้าวอาจมีหนังสือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (เหมาะสำหรับแรงงานประเภทคนงานรับใช้ในบ้าน) หรือ
-
เข้าร่วมโครงการระบบการแจ้งที่พัก 90 วันของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (ลาว กัมพูชา และพม่า)ในเขตกรุงเทพมหานคร ผ่านการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี (เหมาะสำหรับนายจ้าง/ผู้ประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมาก)
เอกสารประกอบการรายงานตัว 90 วัน กรณีต่างด้าวดำเนินการด้วยตนเอง
1. หนังสือเดินทาง (Passport)
2.แบบฟอร์ม ตม. 47 (กรอกข้อความให้ครบถ้วน: ชื่อ – ชื่อสกุลให้กรอกเป็นภาษาอังกฤษ
ยกเว้น:
ที่อยู่ให้กรอกข้อความเป็นภาษาไทยให้ละเอียดที่สุด, ช่องเบอร์โทรศัพท์ กรุณากรอกเบอร์โทรศัพท์ของนายจ้างที่สามารถติดต่อได้)
**** ให้แรงงานต่างด้าว พิมพ์ลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือขวาในแบบฟอร์ม ตม. 47 และในบัตร ตม.6 ด้วย****
3. ใบแจ้งกำหนดนัดรายงานตัว
4. หลักฐานการทำงาน (ให้นำเอกสารต่อไปนี้มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ โดยเจ้าหน้าที่จะคืนเอกสารดังกล่าวให้หลังจากดำเนินการแจ้ง 90 วัน เสร็จสิ้น)
4.1 กรณีได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว ให้แสดงใบอนุญาตทำงานที่กระทรวงแรงงานออกให้ (บัตรเขียว) หรือ
4.2 กรณีที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตทำงานให้นำเอกสารต่อไปนี้มาแสดง
– ใบรับคำขอใช้แทนใบอนุญาตทำงานชั่วคราว จากกระทรวงแรงงาน
– ใบเสร็จรับเงิน
– ทร.38/1
– กรณีเปลี่ยนนายจ้าง ให้นำใบโควตาของนายจ้างปัจจุบันมาแสดง
หมายเหตุ:
-
คนต่างด้าวสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ ก่อน 15 วัน หรือหลัง 7 วัน นับจากวันครบกำหนด(ตามคำสั่งสตม.ที่ 222/2553 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2553)
-
หากเกินกำหนดนัด หรือเกินกำหนดที่จะต้องแจ้งคนต่างด้าวต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาทและปรับอีกวันละไม่เกินวันละสองร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
-
กรณีคนต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศก่อนครบกำหนดนัดครั้งต่อไป เมื่อเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ให้มารายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยครั้งต่อไป เมื่อครบกำหนด 90 วัน นับแต่วันเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ครั้งสุดท้าย
*****การรายงานตัวในครั้งแรก แรงงานต่างด้าว หรือนายจ้าง ควรจะมาดำเนินการด้วยตนเอง*****